โรคตา

6 โรคตาที่เกิดได้กับทุกคน

6 โรคตาที่เกิดได้กับทุกคน

โรคที่เกิดขึ้นกับดวงตามีหลายโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากดวงตาเสื่อมไปตามวัย และเกิดจากการเร่งให้เสื่อมก่อนวัยจากการใช้ดวงตาหนักเกินไป โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่ต้องใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นประจำ ลองมาดูกันว่ามนุษย์มีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับดวงตาอะไรบ้าง

  1. โรคซีวีเอส หรือ โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ โรคตาแห้ง จะมีอาการปวดตา แสบตา ระคายเคือง ตามัว เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา อาจปวดหัวร่วมด้วย เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง มีอาการตาแห้ง พบได้ 75% ของคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ และอาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา และสาเหตุอื่น พบบ่อยทั้งในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศและผู้สูงวัย
  2. โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคสูญเสียการมองเห็นบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา ยังพอมองเห็นได้จากส่วนรอบข้างดวงตาแต่ภาพพร่ามัว บิดเบี้ยว พบได้ในผู้สูงอายุ 50-60 ปีขึ้นไป และในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องจ้องจอนาน ๆ ซึ่งเป็นช่องทางการรับแสงสีฟ้าเข้ามาทำลายจอประสาทตาโดยตรง
  3. โรคต้อหิน เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ขั้วประสาทตาถูกทำลายจากความดันในลูกตาสูง มีอาการปวดตา ตามัว เห็นรุ้งรอบดวงไฟ และอาจปวดหัว คลื่นไส้ร่วมด้วย มีอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย และเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนวัยต่ำกว่า 30 ปี
  4. วุ้นตาเสื่อม หรือ น้ำวุ้นตาตกตะกอน จะมองเห็นเป็นจุดลอย เมื่อมองผนังสีขาวจะเห็นเป็นจุดดำหรือเทาลอยไปมามีรูปร่างวงกลม หรือรูปทรงอื่น ตามัวลงเหมือนถูกบังภาพ,เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ เสื่อมตามวัยไม่ต้องรักษา พบในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในคนที่จ้องหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นเกมนาน ๆ
  5. โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว แสงผ่านเข้าดวงตาลดลงทำให้จอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจน การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย อายุมากกว่า 50-60 ปี ขึ้นไป แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นกับวัยอื่น ๆ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดหรือกลุ่มคนอายุน้อยที่ใช้สเตียรอยด์
  6. ต้อเนื้อ ต้อลม มีลักษณะเป็นเนื้อนูนที่เยื่อตาขาวข้างกระจกตาดำ ถ้าอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว เรียกว่าต้อลม แต่ถ้าเข้ามากินพื้นที่กระจกตาดำเรียกว่า ต้อเนื้อ เยื่อบุตาเสื่อมทำให้สายตาเอียง และตามัวมากขึ้น ต้อเนื้อพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา และโอกาสเป็นมากขึ้นหากโดนแสงแดดจ้า ปะทะลม ฝุ่น ควัน ผงทรายพบมากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

แม้ดวงตาจะต้องเสื่อมไปตามวัย แต่เราสามารถป้องกันดูแลดวงตาให้มีอายุขัยยืนยาว สุขภาพดีอยู่เคียงคู่กับเราได้โดยไม่มีอุปสรรคในการมองเห็นด้วยการใช้สายตาอย่างเหมาะสม อย่าจ้องดูผลบอลผ่านมือถือเป็นเวลานานๆ และพยายามหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงทุกชนิด หากสุดวิสัยต้องใส่ใจเร่งรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆป้องกันการลุกลามจนถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้