โรคซึมเศร้า

วิธีดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรง 2020

วิธีดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรง 2020

จากตัวเลขสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากมี ปัญหาสุขภาพจิต เช่น เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ฯลฯ เนื่องจากการทำงาน ผลกระทบด้านลบจากสื่อโซเชียล และปัญหาในครอบครัว

กรมสุขภาพจิตได้แนะนำวิธีการเสริมความแข็งแรงให้สุขภาพจิต ทำให้จิตใจแจ่มใสขึ้น ด้วยวิธีดี ๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยผู้สูงอายุหลังเกษียณ ดังนี้

1. หมั่นออกกำลังกาย

ข้อดีของการออกกำลังกายนั้น มีการวิจัยทางการแพทย์พบว่าสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารเอ็นโดรฟินเพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น จะออกกำลังกายตอนเช้า 30 นาทีก่อนไปทำงาน หรือเวลาเย็นหลังเลิกงานก็ได้ แต่ควรต้องทำเป็นประจำทุกวัน หรือรวม ๆ แล้วอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที จะช่วยให้ร่างกายปรับสมดุลและทำให้จิตใจแจ่มใสขึ้นได้อย่างชัดเจน

2. มองโลกในแง่ดี

เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนนั้นอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวหรือคนในที่ทำงานได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันได้ ซึ่งมักทำให้เป็นคนใจเย็น ยิ้มง่าย ไม่โกรธหงุดหงิดง่าย และยกโทษให้คนอื่นที่ทำอะไรไม่ถูกใจได้ง่ายขึ้น คนที่มองโลกในแง่ดีมักจะเป็นที่รักของคนรอบข้างและจะดึงดูดให้คนที่อารมณ์ดีอยากเข้ามาใกล้ชิดพูดคุยด้วย จะทำให้แต่ละวันของคุณยิ่งมีความสุขมากขึ้นได้

3. ทำเพื่อสังคม

การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นจะทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น ลดความเครียดในชีวิตประจำวันได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการไปบริจาคข้าวของเครื่องใช้ให้แก่สมาคมหรือมูลนิธิที่ดูแลเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ผู้หญิงที่ถูกทำร้าย คนแก่ที่ขาดลูกหลานดูแล สัตว์ที่ถูกทำทารุณกรรม ฯลฯ นอกจากนี้ คุณยังสามารถที่จะลงแรงในวันหยุดทุกสัปดาห์ โดยเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยในกิจการต่าง ๆ ของสังคมแบบที่คุณสนใจได้ เมื่อใดก็ตามที่เราทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น จะทำให้เราเป็นคนที่มีความสุขและรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น

4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

คนที่รับประทานอาหารได้อย่างมีคุณภาพครบ 5 หมู่ทุกวัน จะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ที่สำคัญ คือ วิตามินบีและธาตุเหล็กที่บำรุงสมองและระบบประสาท จะทำให้ร่างกายมีความสดชื่นจากภายใน สมองแจ่มใส อารมณ์ดีง่ายขึ้น

จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรงต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เราหวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นทุกวัน

วิธีการเสริมความแข็งแรงให้สุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า อาการป่วยที่บั่นทอนสุขภาพกายใจ ปี 2018

โรคซึมเศร้า อาการป่วยที่บั่นทอนสุขภาพกายใจ ปี 2018

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยรู้สึกผิดหวัง เศร้าเสียใจ เพราะสอบไม่ติด ไม่ผ่านสัมภาษณ์งาน โดนเจ้านายดุว่า อกหัก แฟนทิ้งไปมีคนใหม่ หรือคนที่รักเสียชีวิตจากไป คุณย่อมรู้สึกได้ถึงสุขภาพกายใจที่ถูกบั่นทอนความสุข นั่นคือ มีความเศร้าซึม หรือ มองโลกแบบ BLUE คือมันมัว ๆ หมอง ๆ ทำอะไรก็เบื่อ ไม่อยากขยับร่างกาย นอนไม่หลับ หรือไม่ก็อยากหลับไม่อยากตื่น อะไรที่เคยชอบก็ไม่อยากทำ อะไรที่เคยกินก็เบื่อ ไม่เจริญอาหาร หรือไม่ก็สุดโต่งอีกทาง คือกินไม่บันยะบันยัง กินให้อ้วนกันไปข้าง

อาการทั้งหมดนี้ เข้าข่าย “อาการซึมเศร้า” ทั้งสิ้น ซึ่งต้องรีบหาทางเยียวยาตัวเองก่อนที่จะปล่อยให้เรื้อรังยืดยาวไปนานเป็นสิบ ๆ วัน ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นเท่ากับว่า คุณอาจจะเป็นผู้ป่วยใหม่ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งมีการเก็บสถิติพบว่า คนทั่วโลกราว 20 เปอร์เซนต์ ที่เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเปรียบได้กับ นำคนมายืนเรียงแถวหน้ากระดาน ในหนึ่งร้อยคน จะมีอยู่ในนั้น 20 คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

เรียกได้ว่าเป็นตัวเลขผู้ป่วยที่สูงมาก และเท่ากับโอกาสที่คุณหรือใคร ๆ ก็เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะในคนที่มีบุคลิกมั่นใจในตัวเอง กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น คนเก่งระดับแนวหน้า หรือที่เรียกว่า กลุ่มไอคิวสูงที่ไม่เคยต้องเผชิญกับความผิดหวัง

เพราะที่ผ่านมา การศึกษาเน้นที่การเชิดชู “คนเก่ง ไอคิวสูง” ให้ได้ “โชว์พาว” กันมาก ๆ เมื่อคนกลุ่มนี้ เจอกับความผิดหวัง หรือ ป้าย “WRONG” ก็เท่ากับ “ถูกปิดประตูใส่หน้า” ทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าง่ายกว่าคนที่เรียนรู้ ล้มลุกจากความพ่ายแพ้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากความผิดพลาด และมองโลกอย่างมีความหวัง

แน่นอนว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้า แม้เริ่มจากปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็จะตามมาด้วยอาการทางกาย ร่างกายอ่อนล้า รู้สึกเพลียไร้เรี่ยวแรง จนหลายคนไม่สามารถเรียนหรือทำงานต่อได้ กลายเป็นว่าขาดรายได้ดูแลตัวเอง เป็นปัญหาใหญ่ซ้ำเติมชีวิตเขาเหล่านั้นเข้าไปอีก

โรคซึมเศร้า จึงเป็นปัญหาสุขภาพทางจิตเวชที่ต้องกินยาและบำบัดด้วยการคุยกับจิตแพทย์ที่มีความชำนาญจนกว่าจะทุเลาและมีภูมิทางจิตใจที่แข็งแรงขึ้น คุณจึงจะสามารถหยุดยาและกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติเหมือนก่อนได้

แบบสำรวจในการสำรวจตัวเอง

หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเข้าข่าย โรคซึมเศร้าไหม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์แบบทดสอบไว้ให้คุณดาวน์โหลดได้เองง่าย ๆ ที่นี่ https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf แบบสำรวจนี้ จะทำให้คุณได้สำรวจตัวเองโดยไวและหากอาหารซึมเศร้าเกิดกับคนใกล้ชิด คุณจะได้ทราบว่า เขาเหล่านั้นกำลังป่วยทางใจ ควรให้เขาได้ระบาย เพื่อลดความอัดอั้นหรือลดความทุกข์ในใจในเบื้องต้น เลี่ยงการกระทำที่ส่งผลต่อจิตใจรุนแรง เช่น เล่นพนันออนไลน์ hero88 ไปดูหนังดราม่า เป็นต้น และควรแนะนำอย่างใจเย็นให้เขาปรึกษาคุณหมอจิตเวชเฉพาะทางจะดีที่สุด

แบบสำรวจในการสำรวจตัวเอง